มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลาย
พื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ท าให้ผู้ผลิต
มัลติมีเดียจ าเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
- National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้ง
มาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณ
อิเล็กทรอนิกส์ ก าหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน ๕๒๕ เส้นต่อเฟรม ในอัตรา ๓๐ เฟรมต่อวินาที มี
สี16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น ๖๐ Halt-Frame(Interlace) ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์
นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพ
เป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
- Phase Alternate Line (PAL) เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึง
ไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน ๖๒๕ เส้นต่อเฟรม ในอัตรา ๒๕ เฟรมต่อวินาทีและท าการแสดงภาพด้วย
วิธีInterlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น ๕๐ Halt-Frame ต่อนาท- Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และ
วีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ท าการแพร่สัญญาณแบบ
อนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น ๘๑๙ เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช ๒๕ เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจาก
มาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจาก
ระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงท าการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อ
แสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ ๑๒๘๐x๗๒๐ ซึ่งเป็นความละเอียดส าหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรง
ภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น ๑๙๒๐x๑๐๘๐ พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่
เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้ก าหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น ๑๒๘๐x๗๒๐
ที่มาhttp://studio.rmutp.ac.th/
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
ลักษณะการทำงานของวีดีโอ
ลักษณะการทำงานของวีดีโอ
กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า “แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น” มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” ประกอบด้วยข้อมูลสี 3 ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวเทปวีดีโอ” ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วย โดยอาศัย NTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้ที่
ที่มาhttp://arit.rmutsv.ac.th/blogs/55
ชนิดของของวีดีโอ
ชนิดของของวีดีโอ
วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. วิดีโออะนาลอก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่น) สำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง
2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ที่มาhttp://arit.rmutsv.ac.th/blogs/55
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการตัดต่อคอมพิวเตอร์
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการตัดต่อคอมพิวเตอร์
วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน
การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย (Multimedia System)
ที่มาhttp://arit.rmutsv.ac.th/blogs/55
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)